มทร.ธัญบุรี; RMUTT; ARIT RMUTT; สวส.; สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมทร.ธัญบุรี; RMUTT; ARIT RMUTT; สวส.; สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมทร.ธัญบุรี; RMUTT; ARIT RMUTT; สวส.; สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมทร.ธัญบุรี; RMUTT; ARIT RMUTT; สวส.; สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • Home
  • เกี่ยวกับ
    • ประวัติความเป็นมา
    • นโยบายและการบริหารงาน
      • แผนปฎิบัติราชการ
      • นโยบายการบริหารงาน ปี 2566-2570
      • ประกาศ นโยบาย แนวทางปฏิบัติ
      • คำสั่งแต่งตั้ง
      • รายงานผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปี (ปี2566-2567)
      • รายงานผลการดำเนินงานในรอบ 2 ปี (2563-2564)
      • นโยบายการบริหาร ก่อนปี 2566
    • บุคลากรและโครงสร้างองค์กร
      • ทำเนียบผู้บริหาร
      • บุคลากรสำนักงานผู้อำนวยการ
      • บุคลากรกลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ
      • บุคลากรกลุ่มบริการสารสนเทศ
      • บุคลากรกลุ่มเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ
      • บุคลากรกลุ่มงานนวัตกรรมสื่อการศึกษา
      • ทำเนียบผู้บริหารปี 2558 ถึง 25 ก.พ. 2566
      • SAR
        • ระบบรายงานติดต่อผลการดำเนินการ (สวส.มทร.ธัญบุรี)
      • แบบประเมินความพึงพอใจ
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • ประกาศ
    • งานบริการวิชาการเพื่อสังคม
    • รางวัลที่ได้รับ
    • แสดงความยินดี
    • ภาพกิจกรรม
    • รับสมัครเข้าร่วมอบรม
    • รับสมัครงาน
    • ประกาศ จัดซื้อ จัดจ้าง
  • ดาวน์โหลด
    • ตราสัญลักษณ์ ARIT
    • คู่มือ
    • กฎหมายดิจิทัลในประเทศไทย
  • บริการ
    • Service Catalog
    • ลงทะเบียน ย้ายคณะ ย้ายสาขา Account Internet Rmutt
    • ลงทะเบียน / Reset Password WIFI
    • ลงทะเบียน/Reset Password E-mail
    • บริการสืบค้นออนไลน์ มทร.ธัญบุรี
  • ข้อมูลการติดต่อ
  • รับข้อเสนอแนะ
Library
✕

ดาวคล้ายโลก

  • KM-ความรู้ ความรู้ด้าน IT & Network
  • ดาวคล้ายโลก
Published by Kewarin Russamee at 24/05/2012

การค้นหาหรือค้นพบดาวดวงใหม่ที่คล้ายโลก ยังคงน่าสนใจเสมอ …โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่โลกกำลังเผชิญกับปัญหาภัยพิบัติจากธรรมชาติที่นับวันจะเพิ่มความรุนแรงและบ่อยครั้งมากขึ้นทุกที

ทำไม “นาซา” หรือ “องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ” รวมถึงนักดาราศาสตร์ทั่วโลกถึงต้องเฝ้าค้นหาวัตถุนอกโลกหรือดาวนอกระบบสุริยจักรวาล ที่ดูเหมือนจะไกลตัวเสียเหลือเกิน…


“ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์” อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยา ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าให้ฟังถึงที่มาของภารกิจนักดาราศาสตร์ระดับโลกว่า มีการค้นหาดาวเคราะห์คล้ายโลกมานานแล้ว เพียงแต่เดิมกล้องโทรทรรศน์ธรรมดายังไม่สามารถมองเห็นได้ แต่ปัจจุบันกล้องโทรทรรศน์ของนาซา มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมากจนสามารถที่จะค้นพบสิ่งที่อยู่ไกล     ออกไป

และหน่วยค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยจักรวาลที่คาดว่าจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ที่ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมากของนาซาก็คือ ยานอวกาศเคปเลอร์ ที่ค้นพบระบบดาวคู่ที่เรียกว่า เคปเลอร์ 16 หรือเคปเลอร์ 16 เอ และ 16 บี นอกจากนี้ยังพบว่ามีดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบระบบดาวฤกษ์คู่นี้อีกด้วย

ปัจจุบันยานอวกาศเคปเลอร์มีการค้นพบดาวเคราะห์อีกมากมาย ซึ่งยืนยันถึงความเชื่อของนักดาราศาสตร์ที่ว่าดาวฤกษ์ทั้งหลายจะมีดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบ ๆ เสมอ

และเป็นที่มาของการค้นพบดาวเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายโลก อีกหลายดวง รวมถึงดาวเคราะห์เคปเลอร์-22บี ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับทั่วโลกว่า ความฝันที่จะอพยพไปอยู่ยังดาวดวงอื่นนั้นมีโอกาสเป็นจริง

แต่อย่าเพิ่งคิดไปไกล… ถึงขนาดอพยพในระยะเวลาอันใกล้ เพราะ ดร.สธน บอกว่า เทคโนโลยีในปัจจุบัน ยังไม่สามารถทำได้

เอาแค่ในระบบสุริยจักรวาล ที่รู้จักกันดี และใกล้ตัวมากที่สุด ดาวที่คล้ายโลกมากที่สุดก็คือดาวอังคาร ที่หลาย ๆ คนเคยเชื่อว่ามีมนุษย์อาศัยอยู่

การเดินทางจากโลกไปดาวอังคาร ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันต้องใช้เวลานานถึง 2 ปี แถมดาวดวงนี้ยังมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งเสียอีก ซึ่งหากไม่มีเครื่องช่วยในการดำรงชีวิต มนุษย์ก็ไม่สามารถที่จะอยู่ได้

…และที่สำคัญจะทำอย่างไร มนุษย์ถึงจะไม่ตายก่อนที่จะเดินทางถึงดาวอังคาร…

แม้ว่าปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีอวกาศที่สามารถส่งจรวดหรือดาวเทียมไปนอกโลก แต่ยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่จะสามารถส่งคนออกไปยังอวกาศและสามารถอยู่ได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน

ดังนั้น ก่อนที่จะมองไกลไปถึงขั้นอพยพ ขั้นแรกที่นาซากำลังทำอยู่ และยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ก็คือการสร้างสถานีอวกาศที่สามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง และมีพลังงานหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่โดยไม่ต้องพึ่งเสบียงจากภายนอก

ดร.สธน บอกว่าการค้นหาดาวเคราะห์ดวงใหม่ ๆ ในจักรวาล เปรียบเสมือนการทำแผนที่รองรับอนาคต เมื่อเรารู้ว่าดวงอาทิตย์ก็มีวันหมดอายุ สิ่งแวดล้อมของโลกกำลังเสื่อมโทรมลง เมื่อดวงอาทิตย์เกิดการเปลี่ยนแปลง สักวันเราอาจอยู่ไม่ได้บนโลกใบนี้

ปัจจุบัน การค้นหา…อาจไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน แต่ว่าวันหนึ่ง หากมีอุกกาบาตที่จะมาชนโลกแน่ ๆ เราจะทำอย่างไร

และนี่…ก็คือสิ่งที่นาซาและนักดารา ศาสตร์กำลังทำอยู่!!!.

ดาวเคปเลอร์-22 บี เคยถูกค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ของฝรั่งเศส ในปี 2552 แต่ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ จนกระทั่งเมื่อปลายปี 2554 ที่ผ่านมา องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือ นา ซา ออกมายืนยันถึงความมีอยู่จริงของดาวคล้ายโลกที่ถูกตั้งชื่อว่าเคปเลอร์-22 บี (Kepler-22b) โดยอยู่ในเขตพื้นที่ที่มนุษย์สามารถอาศัยอยู่ได้ นอกระบบสุริยจักรวาล มีขนาดใหญ่กว่าโลก 2.4 เท่า ห่างจากโลก 600 ปีแสง อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 22 องศาเซลเซียส

นาตยา  คชินทร
nattayap.k@dailynews.co.th

ร่วมแบ่งปันข้อมูลข่าวสารจาก สวส. มทร.ธัญบุรี
      
Kewarin Russamee
Kewarin Russamee

Related posts

04/03/2025

นโยบายของ Microsoft เกี่ยวกับการตั้งรหัสผ่าน ให้มีความปลอดภัยมากขึ้น


Read more
16/12/2024

การตั้งค่าการเชื่อมต่อ เครือข่ายมหาวิทยาลัยฯ SSL (VPN)


Read more
11/07/2024

การเปลี่ยนแปลงนโยบายการใช้งานผลิตภัณฑ์ Microsoft 365 ปี 2024


Read more

Comments are closed.


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
เผยแพร่ข้อมูลโดย.
บุคลากร สวส.
สร้างและพัฒนาโดย.
ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์

ข้อมูลการติดต่อ


   Fanpage : AritRMUTT
  Line@ : https://lin.ee/tXe209C
  admin@rmutt.ac.th
  02 549 3074

บริการอื่นๆ ของ สวส.


  • ศูนย์สื่อดิจิทัล
  • ศูนย์นวัตกรรมและความรู้
  • ศูนย์พัฒนาและบริการนวัตกรรมดิจิทัล
    สมัยใหม่ (MoSeC)

งานบริการวิชาการให้กับหน่วยงานภายนอก


  • โครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SME โดย. มทร.ธัญบุรี
  • กิจกรรมการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตร ภายใต้โครงการส่งเสริมการรแปรรูปสินค้าเกษตรระดับชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
  • โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)
© 2021 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Library