มทร.ธัญบุรี; RMUTT; ARIT RMUTT; สวส.; สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมทร.ธัญบุรี; RMUTT; ARIT RMUTT; สวส.; สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมทร.ธัญบุรี; RMUTT; ARIT RMUTT; สวส.; สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมทร.ธัญบุรี; RMUTT; ARIT RMUTT; สวส.; สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • Home
  • เกี่ยวกับ
    • ประวัติความเป็นมา
    • นโยบายและการบริหารงาน
      • แผนปฎิบัติราชการ
      • นโยบายการบริหารงาน ปี 2566-2570
      • ประกาศ นโยบาย แนวทางปฏิบัติ
      • คำสั่งแต่งตั้ง
      • รายงานผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปี (ปี2566-2567)
      • รายงานผลการดำเนินงานในรอบ 2 ปี (2563-2564)
      • นโยบายการบริหาร ก่อนปี 2566
    • บุคลากรและโครงสร้างองค์กร
      • ทำเนียบผู้บริหาร
      • บุคลากรสำนักงานผู้อำนวยการ
      • บุคลากรกลุ่มพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ
      • บุคลากรกลุ่มบริการสารสนเทศ
      • บุคลากรกลุ่มเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ
      • บุคลากรกลุ่มงานนวัตกรรมสื่อการศึกษา
      • ทำเนียบผู้บริหารปี 2558 ถึง 25 ก.พ. 2566
      • SAR
        • ระบบรายงานติดต่อผลการดำเนินการ (สวส.มทร.ธัญบุรี)
      • แบบประเมินความพึงพอใจ
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • ประกาศ
    • งานบริการวิชาการเพื่อสังคม
    • รางวัลที่ได้รับ
    • แสดงความยินดี
    • ภาพกิจกรรม
    • รับสมัครเข้าร่วมอบรม
    • รับสมัครงาน
    • ประกาศ จัดซื้อ จัดจ้าง
  • ดาวน์โหลด
    • ตราสัญลักษณ์ ARIT
    • คู่มือ
    • กฎหมายดิจิทัลในประเทศไทย
  • บริการ
    • Service Catalog
    • ลงทะเบียน ย้ายคณะ ย้ายสาขา Account Internet Rmutt
    • ลงทะเบียน / Reset Password WIFI
    • ลงทะเบียน/Reset Password E-mail
    • บริการสืบค้นออนไลน์ มทร.ธัญบุรี
  • ข้อมูลการติดต่อ
  • รับข้อเสนอแนะ
Library
✕

ทำความรู้จัก PDPA พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

  • ฝ่ายต่างๆ ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่เว็บไซต์ w-ผลงานด้านการออกแบบ
  • ทำความรู้จัก PDPA พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
Published by กรกนก ศรีมุข at 08/06/2022



ทำความรู้จัก PDPA พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

PDPA คืออะไร ?

พ.ร.บ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ ย่อมาจาก Personal Data Protection Act บทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ “บุคคลธรรมดา” ให้สิทธิ์ในการแก้ไข, เข้าถึง หรือ แจ้งลบข้อมูลที่ให้ไว้กับองค์กรเป็นต้น และกำหนดบทบาทหน้าที่และบทลงโทษหากองค์กรไม่ปฏิบัติตาม

ข้อมูลแบบไหนเป็น “ข้อมูลส่วนบุคคล”

ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่ทำให้ระบุตัวบุคคลได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม

  • เลขบัตรประจำตัวประชาชน ชื่อ – นามสกุล
  • ที่อยู่
  • เบอร์โทรศัพท์
  • อีเมล
  • ข้อมูลทางการเงิน
  • เชื้อชาติ
  • ศาสนาหรือปรัชญา
  • พฤติกรรมทางเพศ
  • ประวัติอาชญากรรม
  • ข้อมูลสุขภาพ

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล

  1. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล คือ บุคคลที่ข้อมูลชุดนั้น ๆ สามารถระบุไปถึงได้
  2. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล คือ คน บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นคนตัดสินใจว่าจะมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอะไร เพื่ออะไร อย่างไร ภายใต้ PDPA ผู้ควบคุมขอมูลส่วนบุคคลเป็นผู้มีหน้าที่และความรับผิดชอบหลักที่ต้องปฏิบัติตาม PDPA ให้ครบถ้วน บริษัททุกบริษัททันทีที่มีพนักงานคนแรก ที่ต้องใช้ข้อมูลเพื่อจ่ายเงินเดือน ก็เป็น Data Controller แล้วทั้งสิ้น
  3. ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล คือ คน บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ที่ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยจะทำภายใต้คำสั่ง หรือในนามของ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) เท่านั้น ไม่ได้เป็นคนตัดสินใจทำการประมวลผลข้อมูลด้วยตัวเอง

เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิอะไรบ้าง ?

  • สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ
  • สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิขอให้ลบหรือทำลายหรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้
  • สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะสามารถรวบรวมใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลก็ต่อเมื่อ ? 

บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล (บริษัท ห้างร้าน มูลนิธิ สมาคม หน่วยงาน องค์กร ร้านค้า หรืออื่นใดก็ตาม) หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลไว้หรือมีการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ หรือนำไปเปิดเผยไม่ว่าจะวัตถุประสงค์ใดก็ตาม จำเป็นต้องได้รับ คำยินยอม (Consent) จากเจ้าของข้อมูลด้วย เว้นแต่จะเป็นไปตามข้อยกเว้น พรบ. กำหนดไว้

ข้อยกเว้นที่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องขอความยินยอม

  • Scientific or Historical Research เป็นการจัดทำเอกสารประวัติศาสตร์ จดหมายเหตุ การศึกษาวิจัยหรือสถิติ
  • Vital Interest เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล เช่น การเข้ารับบริการทางการแพทย์ ณ โรงพยาบาล
  • Contract เป็นการจำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามสัญญา เช่น เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทำสัญญากู้ยืมเงินจากธนาคาร ธนาคารสามารถเก็บรวบรวมใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นได้ตามวัตถุประสงค์ของสัญญา
  • Public Task เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อำนาจรัฐ
  • Ligitimate Interest เป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือของบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น
  • Legal Obligations เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย

เมื่อ PDPA บังคับใช้แล้วแต่ไม่ได้ปฏิบัติตามจะมีบทลงโทษอะไรบ้าง ?

โทษทางแพ่ง โทษทางแพ่งกำหนดให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นจริงให้กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการละเมิด และอาจจะต้องจ่ายบวกเพิ่มอีกเป็นค่าค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษเพิ่มเติมสูงสุดได้อีก 2 เท่าของค่าเสียหายจริง

โทษทางอาญา โทษทางอาญาจะมีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ โดยมี โทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีหากผู้กระทำความผิด คือ บริษัท(นิติบุคคล) ก็อาจจะสงสัยว่าใครจะเป็นผู้ถูกจำคุก เพราะบริษัทติดคุกไม่ได้ ในส่วนตรงนี้ก็อาจจะตกมาที่ ผู้บริหาร, กรรมการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทนั้น ๆ ที่จะต้องได้รับการลงโทษจำคุกแทน

โทษทางปกครอง โทษปรับ มี ตั้งแต่ 1 ล้านบาทจนถึงสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท ซึ่งโทษปรับสูงสุด 5 ล้านบาท จะเป็นกรณีของการไม่ปฏิบัติตาม PDPA ในส่วนการใช้ข้อมูล หรือ เปิดเผยข้อมูล หรือส่งโอนข้อมูลไปยังต่างประเทศของประเภทข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อน(Sensitive Personal Data) ซึ่งโทษทางปกครองนี้จะแยกต่างหากกับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากโทษทางแพ่งและโทษทางอาญาด้วย

 

Credit ข้อมูล : พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562, https://t-reg.co/blog/t-reg-knowledge/what-is-pdpa/, https://www.banped.go.th/uploaded/content/1185/e0a56ee36dd31ca90d428cb4f3a6473d.pdf

ดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่ : https://ratchakitcha2.soc.go.th/pdfdownload/?id=17082307

ร่วมแบ่งปันข้อมูลข่าวสารจาก สวส. มทร.ธัญบุรี
      
กรกนก ศรีมุข
กรกนก ศรีมุข

Related posts

23/05/2025

ประกาศ เรื่อง บัญชีรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเพื่อจ้างเป็นพนักงานพิเศษเงินรายได้ (ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป และ ตำแหน่ง พนักงานสถานที่)


Read more
23/05/2025

ขอแสดงความยินดีกับ รองศาสตราจารย์ ดร.อำนวย เรืองวารี ผู้อำนวยการ เนื่องในโอกาสที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชั้นสายสะพาย“ประถมาภรณ์มงกุฎไทย”


Read more
22/05/2025

สวส. มทร.ธัญบุรี จัดอบรม “SketchUp Basic” เสริมทักษะการออกแบบ 3 มิติให้บุคลากร


Read more

Comments are closed.


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
เผยแพร่ข้อมูลโดย.
บุคลากร สวส.
สร้างและพัฒนาโดย.
ฝ่ายพัฒนาและเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์

ข้อมูลการติดต่อ


   Fanpage : AritRMUTT
  Line@ : https://lin.ee/tXe209C
  admin@rmutt.ac.th
  02 549 3074

บริการอื่นๆ ของ สวส.


  • ศูนย์สื่อดิจิทัล
  • ศูนย์นวัตกรรมและความรู้
  • ศูนย์พัฒนาและบริการนวัตกรรมดิจิทัล
    สมัยใหม่ (MoSeC)

งานบริการวิชาการให้กับหน่วยงานภายนอก


  • โครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SME โดย. มทร.ธัญบุรี
  • กิจกรรมการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ให้บริการเครื่องจักรกลทางการเกษตร ภายใต้โครงการส่งเสริมการรแปรรูปสินค้าเกษตรระดับชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
  • โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)
© 2021 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Library