MoSeC มทร.ธัญบุรี เดินหน้าพิจารณา “ร่างกรอบสมรรถนะโค้ดดิง” (CCF) หนุน SDGs สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรม
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2568 ศูนย์พัฒนาและบริการนวัตกรรมดิจิทัลสมัยใหม่ (MoSeC) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (สวส. มทร.ธัญบุรี) จัดงานเสวนาคณะรับรอง (Endorsement Committee) เพื่อพิจารณา “ร่างกรอบสมรรถนะโค้ดดิง” (Coding Competency Framework – CCF) ณ ห้องประชุมชั้น 1 อาคารวิทยบริการ กิจกรรมนี้เป็นส่วนสำคัญภายใต้โครงการพัฒนากรอบสมรรถนะด้านโค้ดดิง มุ่งยกระดับทักษะดิจิทัลของคนไทยให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และสนับสนุนเป้าหมายสู่สังคมแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรมกรุงเทพฯ โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิระเชษฐ์ โพธิ์หิรัญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นประธานการประชุม
คณะรับรองร่วมพิจารณา (ร่าง) หลักสูตรโรงเรียนภาษาที่สาม (ภาษาเทคโนโลยี)
ในวันเดียวกันนั้น ศูนย์ MoSeC ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดการประชุมเสวนาคณะรับรองครั้งที่ 2 เพื่อพิจารณา (ร่าง) หลักสูตรโรงเรียนภาษาที่สาม (ภาษาเทคโนโลยี) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนานวัตกรยุค 4.0 (โรงเรียนภาษาที่สาม) ของสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร กิจกรรมนี้ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการส่งเสริมทักษะด้านโค้ดดิงให้เยาวชนไทย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับยุคดิจิทัลและขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นสังคมแห่งนวัตกรรมอย่างยั่งยืน
รายนามคณะรับรอง (Endorsement Committee) กรอบสมรรถนะโค้ดดิง (ร่าง) Coding Competency Framework: CCF:
- ศาสตราจารย์ ดร.ประภาส จงสถิตย์วัฒนา ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รองศาสตราจารย์ ดร.สักรินทร์ อยู่ผ่อง คณะพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- คุณชนินทร์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการกองเทคโนโลยีการศึกษา กรุงเทพมหานคร
- ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ นายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT)
- คุณกิตติรักษ์ ม่วงมิ่งสุข อุปนายกสมาคมศึกษาและพัฒนาโอเพ่นซอร์ส กรรมการผู้จัดการ บริษัท คลัสเตอร์คิท จำกัด
- คุณธนชาติ วิวัฒนภูติ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาดและโซลูชันซอฟต์แวร์สำหรับภาคการศึกษา บริษัท ลานนาคอม จำกัด Microsoft Gold Partner
- ดร.เสาวลักษณ์ แก้วกำเนิด (สวทช.)
ความริเริ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนานวัตกรยุค 4.0 (โรงเรียนภาษาที่สาม) ของสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการส่งเสริมทักษะการโค้ดดิงแก่เยาวชนไทย เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับยุคดิจิทัลและขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่สังคมแห่งนวัตกรรมอย่างยั่งยืน