EP1.เตรียมความพร้อมก่อนนำภาพขึ้นเผยแพร่บนเว็บไซต์
การกำหนดคุณสมบัติไฟล์ภาพ ก่อนนำไปใช้ในการประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม XnView Classic ในการประชาสัมพันธ์หรือเผยแพร่ข้อมูลเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้อ่านบทความเกิดความสนใจที่จะอ่านบทความผู้เขียนบทความควรเขียนบทความโดยมีภาพประกอบ แต่ข้อควรระวังคือรูปภาพที่นำมาประกอบในบทความสามารถสื่อความหมายที่ต้องการ และมองเห็นจุดเด่นของงานอย่างชัดเจน โดยที่ภาพรวมของงานไปในทิศทางที่ส่งเสริมกันและกัน
ภาพที่ได้จากกล้องถ่ายภาพดิจิตอล มักมีขนาดที่ใหญ่ อีกทั้งกล้องแต่ละรุ่นหรือการตั้งค่าแต่ละครั้งของผู้ถ่ายภาพอาจมีการกำหนดค่าความละเอียดของไฟล์ที่ถ่ายไว้แตกต่างกัน แต่สำหรับการนำไฟล์ภาพประกอบบนเว็บนั้นขนาดของภาพควรมีค่าความละเอียดไม่เกิน 72-96 dpi (Dots Per Inch) หากไฟล์ที่นำไปใช้ไม่ได้มีการกำหนดคุณสมบัติของภาพให้มีขนาดดังกล่าวจะทำให้การเข้าถึงหน้าเว็บโหลดได้ช้า โปแกรม XnView Classic เป็นโปรแกรมหนึ่งที่จะช่วยให้การปรับคุณสมบัติของภาพจำนวนมาก ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
คุณสมบัติของ Program XnView Classic
XnView Classic คือโปรแกรมที่ใช้สำหรับเปิดรูปภาพได้หลายประเภท เช่น .jps, .png, gif และอื่น ๆ นอกจากนี้โปรแกรม xnView Classic ยังมีความสามารถอื่น ๆ เช่น ปรับแต่งรูปภาพ, การปรับเปลี่ยนขนาดรูปภาพเปลี่ยนชื่อไฟล์รูป และที่สำคัญโปรแกรมนี้สามารถ Download มาใช้งานได้ฟรี การ Download โปรแกรม XnView Classi cนั้นไม่มีความแตกต่างจากโปรแกรมอื่น ๆ แต่อย่างใด คุณสามารถเข้าไปยัง Website ของ XnView Classic (www.xnview.com) เพื่อ Download โปรแกรมได้และติดตั้งได้กับ Windows ทุกรุ่น
Timeline ของ Video รายละเอียดเนื้อหาตามช่วงเวลา
ช่วงแรกเป็นวิธีการดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม XnView
เวลา 05.10 น. การเปลี่ยนชื่อไฟล์ภาพ
การตั้งค่าชื่อไฟล์ภาพด้วยคำสั่ง Batch Rename..
การตั้งชื่อไฟล์ในส่วนของ Sample ควรตั้งเป็น ปีค.ศ. /เดือน/วันที่ เช่น 20220212
2022 = ปี ค.ศ. 2021
02 = เดือนกุมภาพันธ์
12 = วันที่ 12
เวลา 07.42 น. การตั้งค่าไฟล์รูปภาพด้วยคำสั่ง Batch Processing ลดความละเอียดและขนาดของภาพเป็น 72-96 dpi (Set DPI) i เท่านั้น ขนาดความกว้างของภาพ 2500 pixcel (Resize)
เวลา 12.42 น. การใส่ Metadata ลงในไฟล์ภาพ
เวลา 18.32 น. สรุป
เวลา 23.05 น. สร้างไฟล์ Skip เพื่อเป็น Template ในการลดขนาดไฟล์ภาพและความละเอียดของภาพ (การตั้งค่าไฟล์รูปภาพด้วยคำสั่ง Batch Processing)
เวลา 36.24 น. หลักในการตั้งชื่อไฟล์ภาพ ไฟล์เอกสาร (การตั้งค่าชื่อไฟล์ภาพด้วยคำสั่ง Batch Rename..)
เวลา 40.38 น. การใส่ Metadata ลงในไฟล์ภาพด้วยคำสั่ง Properties
EP.2 การอัพโหลดเอกสารดาวน์โหลดด้วย Plugin Wp-Filebase
การจัดการไฟล์ที่ใช้ประกอบการเขียนเรื่องหรือหน้าของเว็บบล็อกเพื่อให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์เอกสารไปใช้งาน เช่น ไฟล์นำเสนอ (Present) ไฟล์ Pdf เป็นต้น ในระบบของ WordPress หากติดตั้งโปรแกรมตามปกติจะไม่มีเมนูสำหรับการอัพโหลดไฟล์ โดยผู้ใช้ WordPress จะนิยมฝากไฟล์ไว้ที่ต่าง ๆ เช่น Slideshare Google Documents หรือ YouTube เป็นต้นเพื่อป้องกันพื้นที่ของเว็บบล็อกเมื่อมีผู้ใช้บริการจำนวนมากก็จะทำให้พื้นที่ไม่เพียงพอหรือทำให้เว็บบล็อกโหลดได้ข้าหากผู้เขียนไม่ได้ปรับขนาดไฟล์ข้อมูลให้มีความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่บนเว็บก่อนที่จะนำขึ้นบนเว็บบล็อกแต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศได้ติดตั้ง Plugin WP-Filebase Download Manager ที่ใช้สำหรับการอัพโหลดและจัดการไฟล์เอกสาร ไฟล์ภาพ ให้ใช้งาน แต่ก็ยังยืนยันว่าไฟล์ที่มีขนาดใหญ่เช่น ไฟล์ Video ก็ควรฝากไว้ที่ YouTube เพราะ YouTube เองเป็นเจ้าพ่อทางด้าน Video ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลคะ หากจะใช้ก็ให้ใช้เพียงแค่ไฟล์เอกสาร ไฟล์นำเสนอ (Present) หรือไฟล์ที่ต้องการให้ผู้อ่านเข้ามาดาวนโหลดเพียงเท่านั้นคะ
ในการจัดการไฟล์บนเว็บก็จะอธิบายวิธีการใช้งาน WP-Filebase Download Manage ไว้อย่างละเอียดและมีตัวอย่างการแสดงผลของหน้าจอเพื่อให้เลือกใช้ได้ตรงกับความต้องการ
Timeline ของ Video รายละเอียดเนื้อหาตามช่วงเวลา
เวลา 10.08 น. การใส่ป้ายกำกับให้กับไฟล์ดาวน์โหลด
การนำไฟล์แสดงผลบนหน้าเว็บไซต์ต่อที่ EP.3 เวลา 48.33 น. การแทรกไฟล์ดาวน์โหลด
EP.3 การเขียนข่าวประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ต่าง ๆ ของหน่วยงานด้วย WordPress
การจัดการเนื้อหา ก่อนการสร้างบล็อกเพื่อให้การจัดเก็บเนื้อหาในบล็อกของคุณมีการจัดเก็บข้อมูลเป็นหมวดหมู่มีระเบียบนั้น คุณจะต้องวิเคราะห์โครงสร้งของข้อมูลในเว็บบล็อกของคุณก่อน ซึ่งจะทำเพียงครั้งแรกของการสร้างบล็อกหากคุณมีการวิเคราะห์โครงสร้างของข้อมูสไว้เป็นอย่างดี เนื้อหาต่าง ๆ ก็จะจัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบและสามารถค้นหาได้อย่างสะดวก ในส่วนของการจัดการเนื้อหาจะอธิบายถึงวิธีการวิเคราะห์โครงสร้างเนื้อหาเว็บบล็อกก่อนการลงมือสร้างบล็อกร่วมไปถึงวิธีการตั้งค่าหมวดหมู่ การเขียนบทความประเภทเรื่องและหน้า
ในกรณีที่คุณจัดโครงสร้างของข้อมูลไว้ไม่ดีและต้องการปรับปรุงก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่จะเป็นการยุ่งยากและจะต้องเข้าไปจัดการกับเรื่อง หรือหน้าที่ได้เขียนไปแล้วก่อนหน้าด้วย ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะไม่เหมาะสมนัก ดังนั้นการวิเคราะห์โครงสร้างของข้อมูลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการสร้างเว็บไซต์หรือเว็บบล็อกหลังจากวิเคราะห์
โครงสร้งของข้อมูลของเว็บบล็อกได้แล้วถึงจะลงมือสร้างหมวดหมู่ของเรื่องและเขียนเรื่องต่อไป
วิธีการเขียนข่าวประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์ต่าง ๆ ของหน่วยงานด้วย WordPress
-การเขียนบทความประเภทเรื่อง
-การแทรกรูปภาพลงในเรื่องและหน้า
-การลดขนาดภาพให้มีขนาดที่เหมาะสมกับเนื้อหา
-การใส่รูปภาพลงในเรื่องแบบ “สร้างคลังรูปภาพ (Create Gallery)”
-วิธีการแก้ไขเรื่องและหน้าที่เขียนไว้แล้ว
-การใส่ป้ายกำกับ
-ตั้งค่าเพิ่มเติมเพื่อทำให้ Search engine ค้นหาข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
Timeline ของ Video รายละเอียดเนื้อหาตามช่วงเวลา
เวลา 17.44 น. เรื่องการแทรกรูปภาพในข่าว
เวลา 27.12 น. สรุปซ้ำวิธีการเขียนข่าว
เวลา 31.41 น. การกำหนดเวลาในการเผยแพร่
เวลา 35.00 น. การตั้งค่าหัวเรื่อง ฟ้อนให้ใหญ่ในแต่ละหัวข้อ
เวลา 36.53 น. การแทรกตารางลงในเนื้อหา
เวลา 43.36 น. การกำหนดรูปประจำเรื่องและดาวน์โหลดไฟล์ PowerPoint ขนาดรูปประจำเรื่องที่จัดทำไว้ให้ได้ที่ลิงก์
เวลา 48.33 น. การแทรกไฟล์ดาวน์โหลด
EP4. การสร้างรูปประจำเรื่อง ด้วยไฟล์ PowerPoint
ขนาดภาพประจำเรื่อง ขนาดภาพที่ใช้เป็นรูปประจำเรื่อง 2500×1399 pixcel
ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่าง banner ที่สร้างด้วย PowerPoint ได้จาก https://drive.google.com/drive/folders/18TktCqPCoeiYh9f4cMhfyQO9AHdj707c?usp=sharinghttps://shorturl.asia/MGOt4
ดาวน์โหลดเอกสารคู่มือเพิ่มเติมได้ที่ https://arit.rmutt.ac.th/manual/